“ดอกคำฝอย” เป็นพืชสมุนไพร ที่มีสารประกอบหลากชนิด เชื่อกันว่า “ดอกคำฝอย” มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด เพราะสามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดระดับความดันโลหิต
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carthamus tinctorius Linn
ชื่อวงศ์: COMPOSITAE
ชื่อสามัญ: Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
สรรพคุณของดอกคําฝอย
- ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดและขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานหัวหอมหรือกระเทียม
- ดอกคำฝอย สามารถลดความอ้วนได้ด้วยการใช้ดอกประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น
- ดอกคำฝอย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยรักษาอาการไข้หลังของคลอดของสตรี ช่วยแก้ไข้ในเด็ก ช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล ช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน ช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย
- ดอกคำฝอย ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาให้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีออกซิเจนเข้าถึงเซลล์ต่างๆ ได้ดี
- ดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ช่วยรักษาอาการไข้หลังของคลอดของสตรี ช่วยแก้ไข้ในเด็ก ช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล ช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน ส่วนดอกหรือกลีบที่เหลือจากผลช่วยบำรุงประสาท และระงับประสาท
- ช่วยบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ และช่วยฟอกโลหิต
- ช่วยสลายลิ่มเลือด จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ชอบกินของหวาน เพราะจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เลือดเหนียวข้นจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดี โดยดอกคำฝอยจะช่วยสลายลิ่มเลือดให้เล็กลง ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวกันเป็นลิ่มเลือด
- ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง และยังช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
- เมล็ด ใช้เป็นยาขับเสมหะ ยาถ่าย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน บำรุงและขับโลหิตระดูประจำเดือนของสตรี ช่วยระงับอาการอักเสบและปวดประจำเดือนของ แก้อาการตกเลือด อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด ส่วนน้ำมันจากเมล็ด ใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ ช่วยแก้ฝี
คำแนะนำในการใช้สมุนไพรดอกคำฝอย
แม้ว่า “ดอกคำฝอย” จะมีสรรพคุณที่หลากหลาย แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือดได้หากไม่รู้จักใช้ให้ถูกวิธี แพทย์แผนจีนมักจะใช้ดอกคำฝอยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอยู่เสมอ จะไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงไม่ควรใช้ในระยะยาว
โทษของดอกคำฝอย
การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลทำให้โลหิตจางได้ มีผลทำให้มีเลือดน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือกลายเป็นคนขี้โรคโดยไม่รู้ตัว อาจจะทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ และอาจทำให้มีอาการมึนงง หรือมีผดผื่นคันขึ้นตามตัวได้
สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคสมุนไพรดอกคำฝอย เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน หากรับประทานหรือรับประทานในปริมาณมากๆ ก็มีโอกาสทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
แชร์บทความนี้