หลายครั้งที่คนเราเรียกอาการ ปวดท้อง แน่นท้อง ถ่ายไม่ออก ว่าท้องผูก แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า อาการปวดท้องบ่อยครั้ง แน่นท้อง ถ่ายไม่ออก นั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร และเราเป็นท้องผูกจริงหรือไม่ เนื่องจากอาการปวดท้องเป็นได้ทั้ง ประจำเดือน ไส้ติ่ง กรดไหลย้อนรวมไปถึงท้องผูก แล้วอาการแบบไหนกันที่เรียกว่าท้องผูกอย่างแท้จริง?
วันนี้ชาวี Chawee มีตัวอย่าง
ทำความรู้จักกับท้องผูก
ท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ โดยมีลักษณะอุจจาระที่แข็ง หรือมีอาการถ่ายลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากเวลาถ่ายอุจจาระ หรือใช้เวลาในการขับถ่ายเป็นเวลานาน หรือมีอาการถ่ายไม่สุด มีอาการปวดอยากถ่ายอีกภายหลังจากถ่ายอุจจาระไปแล้ว
สัญญาณอาการของท้องผูก
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
- อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็กๆ
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
- ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก มีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
- ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
ที่มา : http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=2321
เมื่อเราทราบแล้วว่ามีอาการท้องผูก เราจะแก้อาการท้องผูกได้ด้วยวิธีใดบ้างล่ะ? ซึ่งก่อนที่เราจะหาวิธีแก้ท้องผูกนั้น เราต้องหาสาเหตที่แท้จริงของการเกิดอาการท้องผูก เพื่อที่จะแก้อาการท้องผูกได้อย่างถูกวิธี
สาเหตของการท้องผูก
- โรคต่างๆ เช่น โรคทางระบบประสาทต่างๆ โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
- ยาที่รับประทานประจำ (ยาหลายชนิดทำให้เกิดอาการท้องผูก) เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน
- การอุดกั้นของลำไส้ เช่น มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น ภาวะช่องทวารหนักหย่อน การมีทวารหนักยื่น การตีบของทวารหนัก
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย รับประทานอาหารที่มีกากและดื่มน้ำน้อย
ที่มา : https://www.bumrungrad.com/th/conditions/constipation
วิธีแก้ท้องผูก
วิธีแก้ท้องผูกง่ายๆดังต่อไปนี้เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งทุกคนสามารถทำได้เองและทำได้จริง
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง โดยเฉพาะผักและผลไม้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหลัง
- ขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน
- อย่ากลั้นอุจจาระ หรือรีบร้อนในการขับถ่าย
- ดื่มน้ำไม่น้อยกว่าวันละ 2 ลิตร เพื่อให้อุจจาระไม่แข็ง ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยอาจดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนช่วยในการขับถ่ายเช่น ชาวี Chawee ชาสมุนไพรดีท็อกซ์ที่มีส่วนผสมของฝักมะขามแขก มีสรรพคุณช่วยลดท้องผูก ปรับสมดุลการขับถ่าย ช่วยให้ขับถ่ายง่าย ต้มเพียง15-20นาที สามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน
ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง
เมื่อเกิดอาการท้องผูกร่างกายจะเบ่งอุจจาระแรงๆ และบ่อยๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการหย่อนยานของกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกรานและหากท้องผูกเป็นประจำ จะทำให้กล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนยานมากๆ ส่งผลให้เกิดอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือมีการปลิ้นของลำไส้ใหญ่ตามมาภายหลัง และอาจเกิดแผลขนาดใหญ่ภายในทวารหนัก
หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยาและการรักษาด้วยวิธีต่างๆต่อไป
แชร์บทความนี้